วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บอกเล่าให้กัน

ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัย

เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กปฐมวัยเป็นเด็กที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) เด็กจะสนใจตนเองมากกว่า ทำให้เด็กไม่ค่อยคิดถึงผู้อื่น สิ่งที่ควรแก้ไขให้รู้จักเอาใจผู้อื่น แบ่งปันสิ่งของ ร่วมเล่นกับเพื่อน รู้จักช่วยเพื่อน ๆ รู้จักใช้ถ้อยคำและกริยาอย่างเหมาะสม รู้จักรักและชื่นชมและให้อภัยต่อกัน ซึ่งสิ่งดังกล่าวสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อ เพราะดนตรีมีส่วนช่วยโน้มน้าวให้เด็กอยากเรียน อยากเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน โดยที่ไม่ต้องมีการบังคับแต่ประการใด วิธีหนึ่งที่จะให้เด็กได้พัฒนาด้านสังคม คือ ให้เด็กได้ร่วมร้องเพลงหรือทำกิจกรรมทางดนตรี แสดงบทบาทตามดนตรี จนกระทั่งเด็กเกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่า เด็กจะพยายามเลียนแบบ ทั้งนี้ ครูและผู้เกี่ยวข้องต้องคอยย้ำและเตือนอยู่เสมอ จนกระทั่งเด็กได้พัฒนาพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่ได้รับการพัฒนาทางด้านสังคมโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ผู้เขียนคิดว่า เด็กจะเรียนรู้ถึงความเป็นไปของสังคมใกล้ตัวและสังคมรอบข้าง เด็กจะเป็นที่รักของสมาชิกและสังคม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สามารถปรับ
ตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ รู้จักพูดจา แสดงท่าทางเหมาะแก่กาลเทศะ ทำงานและเล่นกับผู้อื่นได้ดี ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้ดนตรีเป็นสื่อในการพัฒนาสังคมของเด็กปฐมวัยโดยแท้

นอกจากนี้ดนตรีทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม อันเป็นผลจากการที่เสียงดนตรีมีส่วนช่วยในการปรับสภาพอารมณ์ของเด็กให้เกิดความพึงพอใจ และความสุขสบาย ฉะนั้นการที่เด็กได้ฟังเสียงดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เด็กจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น มีความไว้วางใจในสิ่งแวดล้อม มีความสุขในการเรียน การทำงาน และสามารถที่จะปรับตัวในลักษณะที่เหมาะสมเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งเด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี มีความสามัคคีร่วมมือในการทำกิจกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้เป็น อย่างดียิ่ง

http://www.student.com

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

เก็บมาฝาก


จากการวิจัยจากกการ ที่ให้เด็กฟัง "เพลงโมซาร์ท" ขณะเรียนและทำข้อสอบปรากฎว่า มีสมาธิดีขึ้นมาก(มีบางคน ตะโกนให้เปิดเบาๆหน่อย หนวกหู อันนี้ไม่จริงเอาฮา)หากยึดถือตามทฤษฎีการเลี้ยงเด็กแบบสุดโต่งจริง ๆ แล้ว แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กทารกแนะนำไม่ให้เด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ดูโทรทัศน์เลย และเกิน 1 ขวบถึง 2 ขวบดูได้เล็กน้อย (ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน) เพราะภาพในรายการโทรทัศน์ทั่วไปจะเป็นภาพเคลื่อนไหวเร็วมาก บางภาพปรากฏในจอเพียง 1 หรือ 2 วินาทีก็เปลี่ยนไปเป็นภาพอื่น เด็กยังไม่ทันมีเวลาคิดตามและใช้จินตนาการคาดคะเนและเชื่อมโยง หรือแค่เริ่มคิดก็ต้องเปลี่ยนไปคิดอย่างอื่นตามภาพใหม่ที่ปรากฏขึ้น หรือคิดตามไม่ทัน เชื่อมโยง คาดคะเนไม่ทัน เพราะการทำงานของสมองยังช้า ภาพก็เปลี่ยนแล้ว ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กที่ดูโทรทัศน์มากมีโอกาสเป็นเด็กสมาธิสั้นมากกว่าเด็กที่ดู โทรทัศน์น้อย ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คือต้องไม่ให้เด็กดูรายการโทรทัศน์เลยเป็นการป้องกันที่น่าจะปลอดภัยที่สุด อันนั้นคือถ้าทำได้ก็ดี แต่ในความเป็นจริง บางครั้งเราก็อาจจะต้องการเวลาในการทำธุระส่วนตัว หรือทำงานอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปล่อยเด็กไว้กับโทรทัศน์บ้างบางเวลา และภาพในจอก็ไม่จำเป็นต้องเป็นรายการโทรทัศน์ทั่วไปที่ผลิตมาเพื่อผู้ใหญ่ ซึ่งยังไงก็ไม่เหมาะ กับเด็ก และโดยทั่วไป เด็กทารกก็ดูเหมือนจะสนใจภาพในจอโทรทัศน์กันทุกคนอยู่แล้ว ฟังเพลงโมสาร์ท เอฟเฟ็คต์ จึงช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น โดยอาศัยทฤษฎีเดียวกับเหตุผลในการวิจัยพบว่า ทำไมดนตรีโมสาร์ท จึงช่วยพัฒนาสมองเด็ก ซึ่งมีเหตุผลสำคัญอยู่ข้อหนึ่งว่า ดนตรีโมสาร์ท ในซีรี่ส์ Mozart for Children ทั่วไป จะมีอัตราการซ้ำตัวโน้ตเดิมอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะ หรือเรียกว่า เป็นดนตรีที่มีแพทเทิร์น หรือรูปแบบที่แน่นอน จะเป็นชุดสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเพลง ซึ่งเมื่อทารกและเด็กเล็กฟังแล้วจะสามารถใช้ความคิดคาดคะเนได้ว่า ต่อจากนี้ไปจะได้ยินเสียงนี้ หรือโน้ตดนตรีตัวนี้อีกอย่างแน่นอนเป็นแบบแผน เมื่อเด็กคาดคะเนได้ถูกต้องครั้งแรก เด็กจะเริ่มสนุกและสมองจะเริ่มสร้างแบบแผนในการคิดให้สอดคล้องกับเพลงนั้น และจินตนาการตามโน้ตดนตรีไปเรื่อย ๆ เป็นการดึงดูดสมาธิของเด็กให้จดจ่ออยู่กับการฟังและคิดตามเพลงไปจนจบ นี่เป็นเหตุผลหลักประการหนึ่งโดยย่อ ว่าทำไมดนตรีโมสาร์ท เอฟเฟ็คต์ จึงเหมาะและช่วยพัฒนาสมองและอารมณ์เด็กเด็กมากกว่าดนตรีประเภทอื่น ๆ (ซึ่งก็มีประโยชน์เช่นกัน และควรให้เด็กฟังดนตรีที่หลากหลายจะดีกว่าให้ฟังเพียงแนวเดียว) ทำให้เด็กสนุก มีสมาธิ มีอารมณ์ดี มีความมั่นใจในตัวเองว่าสามารถคิดได้ตรงกับภาพที่จะเกิดขึ้นซึ่งยังมาไม่ถึง ซึ่งเมื่อภาพเหล่านี้(คือกิจกรรมอะไรก็ตามที่ทำไปพร้อมกับขนาดฟังเพลง เช่น เด็กทารกดูภาพ นักเรียนอ่านหนังสือ ทำข้อสอบ) ประกอบกับดนตรีของโมสาร์ทแล้ว จะเหมือนกับเป็นการฝึกสมองแบบยกกำลังสอง โดยไม่ทำให้เด็กต้องเสี่ยงกับโรคสมาธิสั้นจากการดูรายการโทรทัศน์ทั่วไป และทำให้การดูโทรทัศน์กลับเป็นประโยชน์มากขึ้นกว่าไม่ให้ดูอีกต่างหาก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังก็คือ อย่าให้เด็กดูโทรทัศน์ใกล้จอเกินไปและดูติดต่อกันนานเกินไป ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพทางกายภาพของสายตามากกว่าผลทางด้านสมอง ที่อธิบายมายืดยาวก็เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่บางท่านที่เพิ่งเริ่มศึกษาทฤษฎีโมสาร์ทเอฟเฟ็คต์ได้ มีข้อมูลเบื้องต้น หรือว่าบางท่านอาจจะสงสัยว่า ดนตรีโมสาร์ทดีต่อสมองเด็กมากกว่าดนตรีอื่นอย่างไร หรือแม้แต่บางท่านอาจจะได้ยินคนที่ไม่เห็นด้วยบอกว่า ทฤษฎีโมสาร์ทเอฟเฟ็คต์เป็นเรื่องไม่จริง ได้มีข้อมูลว่า ทฤษฎีโมสาร์ท เอฟเฟ็คต์ไม่ใช่เป็นสิ่งที่พูดกันเลื่อนลอย ไร้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ แต่ตรงกันข้าม ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ ใครที่ได้ลองฟังดนตรีคลาสสิคของโมสาร์ทสำหรับเด็กอย่างตั้งใจจะพบว่า สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น แม้เราคนธรรมดา ไม่ใช่นักวิจัย ก็จะสามารถจับแนวทางดังกล่าวได้ด้วยตัวเองเช่นกัน และในทางวิทยาศาสตร์ สมองของเด็ก มีความสามารถในการรับรู้ เรียนรู้และเข้าใจสิ่งใหม่ ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสได้ดีกว่าผู้ใหญ่หลายสิบเท่า เด็กจึงได้รับประโยชน์จากคุณูปการของดนตรีโมสาร์ทมากกว่าผู้ใหญ่อย่างแน่นอน

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ถ้าเราเอาเนื้อเพลงเดิม มาใส่ทำนองใหม่ที่สนุกๆ คิดว่าจะดีไม


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นที่เพื่อนๆมาตอบให้นะคะ